วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ประโยช์ของเงาะ
เงาะ
เงาะ ภาษาอังกฤษ Rambutan มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum Linn. เป็นผลไม้เมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และแพร่ขยายมาปลูกมาในบ้านเราในภายหลัง ซึ่งนิยมปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์อื่นๆก็มีปลูกกันบ้างประปราย
ประโยชน์ของเงาะ
มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
เงาะ สรรพคุณช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปาก
ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนได้อย่างได้ผลเงาะ
สรรพคุณของเงาะ ช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง
ใช้เป็นยาแก้อักเสบ
ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ประโยชน์ของเงาะ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างได้มากมาย เช่น การทำเงาะกระป๋อง เงาะกวนเปลือก เป็นต้น
เงาะมีสารแทนนิน ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสีผ้า บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย และกาว เป็นต้น
สารแทนนิน (tannin)ช่วยป้องกันแมลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ทำเป็นยารักษาโรค
คุณค่าทางโภชนาการของเงาะกระป๋องน้ำเชื่อมต่อ 100 กรัม
ประโยชน์ของเงาะพลังงาน 82 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
เส้นใย 0.21 กรัม
ไขมัน 0.65 กรัม
โปรตีน 2.5 กรัม
วิตามินบี1 0.013 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี2 0.022 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี3 1.352 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม 2%
วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม 16%
ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม 1%
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของเงาะ เงาะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้ท้องอืดหรือท้องผูกได้ (ระวังอ้วนด้วยละ) เพราะฉะนั้นควรรับประทานอย่างพอประมาณเพื่อที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
เมล็ดเงาะ มีพิษห้ามรับประทานเพราะอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะนำไปคั่วจนสึกแล้วก็ตามก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี !
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรมวิชาการเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น