วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของทุเรียน
ทุเรียน
ทุเรียน ภาษาอังกฤษ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า “หนาม”) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Durio zibethinus Linn. ทุเรียนเป็นผลไม้ที่อยู่วงศ์ฝ้าย ในสกุลทุเรียน (แต่นักอนุกรมวิธานบางท่านจัดให้ทุเรียนอยู่ในวงศ์ทุเรียน) ทุเรียนจัดว่าเป็นราชาผลไม้ไทย โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยลักษณะของผลทุเรียนจะมีขนาดใหญ่ ผลรีถึงกลม และมีเปลือก( สีเขียวถึงสีน้ำตาล) ที่ปกคลุมไปด้วยหนามแข็ง ผลทุเรียนอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักโดยทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมีเนื้อที่นำมารับประทานเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์
ประโยชน์ของทุเรียนทุเรียนนั้นมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งได้แก่ ซึ่งมีดังนี้ Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus และ Durio testudinarum แต่มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว โดยเนื้อในจะเหมือนคัสตาร์ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ สำหรับบางคนนั้นบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่ในขณะที่บางคนกลับมองว่ามันมีกลิ่นเหม็นรุนจนถึงขั้นสะอิดสะเอียนเลยทีเดียว (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขาห้ามนำทุเรียนเข้าไปในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะ) ทุเรียนนั้นเราสามารถรับประทานทุเรียนได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ นอกจานี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
สรรพคุณของทุเรียน
ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
สรรพคุณทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก,ใบ)
ทุเรียน สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ (ใบ,เนื้อทุเรียน)
ทุเรียนทุเรียน สรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
ใช้สมานแผล (เปลือก)
เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก)
advertisements
ประโยชน์ของทุเรียน
ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
ประโยชน์ทุเรียน ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เช็ก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ
ทุเรียน ประโยชน์เมล็ดของทุเรียนสามารถรับประทานได้มานำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน
เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรวมควันปลา
ประโยชน์ของทุเรียน เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนรับประทาน
สำหรับความเชื่อในบ้านเรานั้น การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน (ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
สรรพคุณของทุเรียนพลังงาน 174 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
เส้นใย 3.8 กรัม
ไขมัน 5.33 กรัม
โปรตีน 1.47 กรัม
วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.374 มิลลิกรัม 33%
วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม 17%
วิตามินบี3 1.74 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี5 0.23 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี6 0.316 มิลลิกรัม 24%
วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม 9%
ประโยชน์ทุเรียน วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%
ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของทุเรียน : เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและยังอุดมไปด้วยไปด้วยไขมันและกำมะถัน ผลไม้ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้ไม่สบายเนื้อสบายตัว ทำให้เกิดร้อนในอีกด้วย และสำหรับบุคคลทั่วไปควรจะบริโภคแต่น้อย และยังมีความเชื่อโบราณที่ห้ามให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีดันโลหิตสูงรับประทานทุเรียน และไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟ เพราะเป็นของร้อนทั้งคู่ เดี๋ยวจะหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มีได้ !
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ประโยชน์ของลองกอง
ลองกอง
ลองกอง ชื่อสามัญ Longkong ลองกอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corr. จัดเป็นพืชที่อยู่ในชนิดเดียวกันกับลางสาด และลูกู หรือ ดูกู (Duku) โดยจัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE เช่นเดียวกับกระท้อน กัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ และสะเดา นอกจากนี้ลองกองยังมีชื่ออื่นอีก คือ ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช) ส่วนชื่อลองกองนั้นมาจากชื่อพื้นเมืองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี[1],[2]
ผลไม้ลองกอง ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดนราธิวาส และยังมีในประเทศทางแถบซูรินัม เปอร์ติริโก ออสเตรเลีย และฮาวาย โดยประเทศไทยสามารถผลิตลองกองที่มีคุณภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมในการปลูกที่เหมาะสม แต่พื้นที่ที่สามารถทำการปลูกลองกองได้ยังมีจำกัด ทำให้มีผลผลิตน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด จึงทำให้ผลไม้ชนิดนี้มีราคาสูง และจัดได้ว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดชนิดหนึ่ง โดยแหล่งเพาะปลูกลองกองในประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือและภาคกลางก็มีปลูกอยู่บ้างเล็กน้อย[1]
สายพันธุ์ลองกอง
พันธุ์ลองกอง ในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง โดยสายพันธุ์ลองกองที่สามารถรวบรวมได้ทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 7 สายพันธุ์ได้แก่ ลองกองทั่วไป, ลองกองแกแลแมร์ (ลองกองแปรแมร์), ลองกองคันธุลี, ลองกองธารโต, ลองกองไม้, ลองกองเปลือกบาง, และลองกองกาญจนดิษฐ์ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์นั้นสามารถแบ่งลองกองออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ลองกองแห้ง (เนื้อใสแห้ง รสหวานกลิ่นหอม เปลือกเหลืองคล้ำและไม่มียาง), ลองกองน้ำ (เนื้อฉ่ำน่ำ สีเปลือกเหลืองสว่าง), และลองกองกะละแม (แกแลแม, ปาลาเม, แปรแมร์) (เนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอม เปลือกบางและมียางเล็กน้อย) โดยลองกองแห้งจะเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในการปลูกเป็นการค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดที่มีผลคุณภาพดี เนื้อมีรสหวานหอม มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย และเมล็ดยังไม่ขมอีกด้วย ดังนั้นสายพันธุ์ของลองกองจึงควรจะมีเพียงสายพันธุ์เดียว เพราะเป็นประโยชน์ในการค้าไม่จำเป็นต้องแยกชนิดพันธุ์ เพราะคุณภาพนั้นเป็นที่ยอมรับของตลาดอยู่แล้ว[1]
ภาพลองกอง
ลักษณะของกอง
ต้นลองกอง ในส่วนของลำต้นไม่กลมนัก มักมีสันนูน และรอยเว้าอยู่บ้าง ผิวเปลือกค่อนข้างหยาบ ไม่เรียบ แตกกิ่งแขนงภายในเป็นทรงพุ่มไม่กลมตรง มีแอ่งเว้าตามรอยของง่ามกิ่งและตามลำต้นให้เห็นเป็นระยะ ลักษณะเป็นรอยสูงต่ำ เป็นคลื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกด้วย ถ้าหากปลูกภายใต้ร่มเงาทึบหรือมีไม้อื่นมาก ลำต้นก็จะสูงชะลูดและผิวเปลือกจะค่อนข้างเรียบ แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงาน้อย ลำต้นมักจะแผ่เป็นพุ่มกว้างๆ และมีผิวเปลือกที่หยาบ ขยายพันธุ์ได้หลายวิธีทั้งวิธีการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง หรือการเสียบยอดและเสียบข้าง และวิธีการติดตา[1]
ต้นลองกอง
รากลองกอง ระบบของรากลองกองจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ที่ทำการเพาะปลูก แต่โดยทั่วไปแล้วรากแขนงของลองกองจะมีขนาดใหญ่และหยาบ เจริญแผ่ไปทางแนวราบของผิวหน้าดิน เมื่อต้นมีอายุมากจะมองเห็นรากส่วนนี้แยกจากโคนต้นที่ติดดินได้ชัดเจน และต่อจากรากแขนงจะเป็นรากฝอย ซึ่งทำหน้าที่ในการดูดซับน้ำและอาหาร เจริญแผ่ไปตามหน้าดินตื้นๆ[1]
ใบลองกอง ใบเป็นใบรวมมี 5-9 ใบย่อย ใบกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว และยาวประมาณ 4-8 นิ้ว และมีก้านใบย่อย ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ดำเป็นมัน และมีรอยหยักเป็นคลื่นหนากว่าใบของลางสาดผิวใบด้านบนจะเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ลักษณะของใบเป็นแบบ elliptical โดยมีปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะของเส้นใบเป็นแบบแยกออกจาเส้นกลางใบเหมือนร่างแห โดยเส้นใบด้านใต้ท้องใบของลองกอง จะเรียวเล็กนูน คมชัดกว่าใบของดูกูน้ำ[1]
ใบลองกอง
ดอกลองกอง ตาดอกมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยส่วนนี้จะเจริญเป็นช่อดอกยาวเรียกว่า Spike ซึ่งอาจจะพบเป็นช่อดอกแบบเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 2-10 ช่อดอก โดยจะแตกออกตามลำต้นและกิ่งที่สมบูรณ์ ดอกลองกองเมื่อบานจะมีสีเหลืองนวล มีกลีบเลี้ยงลักษณะอวบ สีเขียว และจะติดอยู่จนกระทั่งผลแก่ ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นท่อสั้นๆ อยู่ 10 อัน ฐานหลอมรวมกัน ส่วนการบานของดอกโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มจากบริเวณ 2 ใน 3 ของช่อดอกจากปลายช่อ บานลงมาถึงโคนช่อ จากนั้นจะเริ่มบานขึ้นไปถึงปลายช่อ[1]
ดอกลองกอง
ผลลองกอง ออกผลเป็นช่อแน่นติดกับก้านช่อ ลักษณะของผลมีทั้งทรงกลมและทรงยาวรี ซึ่งการที่มีผลในช่อแน่น อาจทำให้รูปทรงของผลแตกต่างกันออกไป ส่วนลักษณะของเปลือกจะหนากว่าลางสาดอยู่มาก เนื้อในผลมีรสหวานหอม[1]
ผลไม้ลองกอง
เมล็ดลองกอง ในผลลองกองหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-2 เมล็ด โดยเมล็ดที่สมบูรณ์จะมีขนาดใหญ่ ภายในผลส่วนใหญ่แล้วจะมีช่องอยู่ 5 ช่อง และเมล็ดมักจะลีบ ลักษณะเมล็ดเป็นรูปไข่ มีสีเขียวอมเหลือง ตัวเมล็ดจะมีรอยแตกร้าวเป็นส่วนมาก ส่วนรสชาติของเมล็ดไม่ขม ถ้าหากนำมาเพาะจะขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว[1]
ความแตกต่างระหว่างลองกอง ลางสาด และดูกู
เนื่องจากผลไม้ทั้งสามชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน และมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีราคาถูกแพงไม่เท่ากัน โดยลองกองนั้นจะมีราแพงที่สุด ตามมาด้วยลางสาด และดูกู (ดูกูเป็นผลไม้ที่ไม่ค่อยมีราคา แต่จะนิยมนำเมล็ดไปเพาะเป็นต้นตอเพื่อใช้ขยายพันธุ์ลองกองและลางสาดมากกว่า)
ลองกอง ลักษณะของผลกลม เปลือกหนา ผิวหยาบเล็กน้อย เนื้อมีกลิ่นหอม รสหวาน ในผลมีเมล็ดลีบหรือไม่มีเมล็ดเลย และเมล็ดไม่ขม[1]
ลางสาด ลักษณะของผลกลมรี เปลือกบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม มียางมากเป็นสีเขียวขุ่นๆ เนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ในผลมีเมล็ดมากและขมจัด[1]
ดูกู หรือ ลูกู ลักษณะของผลกลมรี เปลือกบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม เนื้อมีรสหวาน ในผลมีเมล็ดแต่ไม่ขม[1]
สรรพคุณลองกอง
เมล็ดลองกองมีสารสำคัญที่ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (เมล็ด)[1]
ช่วยลดความร้อนในร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นไข้ตัวร้อน และยังช่วยลดอาการร้อนในช่องปากได้ด้วย (เนื้อลองกอง)[1]
ลองกอง สรรพคุณของเมล็ดรักษาอาการไข้ (เมล็ด)[1]
มีการนำเปลือกต้นมาสกัดเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)[1]
ใบลองกอง สรรพคุณมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียได้ถึง 50% (ใบ)[1] เมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียและยับยั้งการเจริญของปาราสิตมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) ได้ถึง 50% (เมล็ด)[1]
เปลือกผลนำไปตากแห้ง แล้วเผาให้เกิดควันใช้สูดดมเพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค (เปลือกผล)[3]
น้ำจากผลมีการนำไปใช้หยอดตาเพื่อช่วยรักษาอาการตาอักเสบ (น้ำจากผล)[3]
เปลือกต้นลองกอง สามารถนำมาใช้เป็นยาต้มกินเพื่อช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
สรรพคุณของลองกอง ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (กิ่ง)[3]
ใช้ในการรักษาอาการท้องเสีย และอาการลำไส้เกร็ง (เมล็ด)[1]
เปลือกต้นและใบใช้เป็นยาต้มสำหรับรักษาโรคบิด (เปลือกต้น,ใบ)[3]
ในเปลือกมีสารประเภท Oleoresin จำนวนมาก จึงมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง อาการปวดท้อง (เปลือกผล)[1]
เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิ (เมล็ด)[1],[2]
สารสกัดจากเปลือกต้นสามารถช่วยแก้พิษแมงป่องได้ (เปลือกต้น)[1]
ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)[1] ส่วนเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด)[1]
advertisements
ประโยชน์ลองกอง
ประโยชน์ของลองกอง โดยทั่วไปแล้วจะนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด ให้รสชาติหวานอร่อย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย[1],[3]
เปลือกผลแห้งนำมาเผาเพื่อให้ได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย มีประโยชน์ในการใช้ไล่ยุงได้[1],[3]
ลองกองสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ทำเป็นน้ำเชื่อม ลูกอม แยมลองกอง ลองกองกวน น้ำลองกอง ไวน์ลองกอง ลองกองผสมวุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม เป็นต้น[1],[2]
เปลือกผลและเมล็ดมีส่วนประกอบของสารทีมีความสำคัญทางการแพทย์และทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากมีสาร Tannin อยู่เป็นจำนวนมาก[3]
มีการนำส่วนผลของลองกองมาสกัดด้วยเอทานอลและละลายสารสกัด 2-5% ในโพรพิลีนไกลคอล (Propylene glycol) เพื่อใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายสำหรับทำเป็นเครื่องสำอางสำหรับผิวหนังที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยลดรอยด่างดำ ซึ่งจากผลการทดสอบในอาสาสมัครหญิงจำนวน 30 คน พบว่าสารสกัดจากลองกองสามารถเพิ่มความชื้นกับผิวหนังและช่วยลดรอยด่างดำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[1]
ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
มังคุด ภาษาอังกฤษ Mangosteen ส่วนมังคุดชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn
เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชีย โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of Fruits) อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผล ที่มีกลับบนหัวคล้ายๆกับมงกุฎของพระราชินี เป็นผลที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของมังคุดไม่ได้อยู่แค่เนื้อที่เรานิยมรับประทานกันเท่านั้น ประโยชน์ของเปลือกมังคุดก็มีมากมายในการรักษาโรคได้เช่นกัน
ในมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่างๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ (ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย) ดังนั้นการรับประทานที่ดีที่สุดคือการรับประทานอย่างมีสติ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายมันอาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกายเสียเอง
ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว (สิงหาคม พ.ศ.2555) ได้มีการเปิดตัวผลงานวิจัย “สูตรสารธรรมชาติ ต้านมะเร็งจากมังคุด” โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา เผยว่างานวิจัยดังกล่าวเป็นกาต่อยอดยำเอาคุณประโยชน์ของสารสกัดจีเอ็ม-1 ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะราคาแพง ลดการอักเสบได้เป็น 3 เท่าของแอสไพริน และสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสกัดมาจากเปลือกมังคุดสูตรธรรมชาติที่ผสมกับสารสกัดจากงาดำ ฝรั่ง ถั่วเหลือง ใบบัวบก จนได้เป็นอาหารเสริมชนิดดีที่ช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล โดยมีผลช่วยเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาวทีเอช 1 ที่ช่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็ง เชื้อรา เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 17 ที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง อย่างไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
ขณะที่ ศ.พญ.สุมิตรา ทองประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวถึงผลงานวิจัยด้วยการทดสอบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัด 20 ราย ในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารสูตรธรรมชาติร่วมกับน้ำมังคุดสกัดร้อยละ 80 เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น หลายคนกินข้าวได้ อาการเจ็บปวดบรรเทาลง ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับไปทำงานได้ปกติ โดยทุกรายมีภูมิคุมกันที่ดีขึ้นแม้จะไม่หายจากโรคมะเร็ง จึงช่วยเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ยารักษาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ประโยชน์ของมังคุด
ประโยชน์ของเปลือกมังคุดรับประทานสดเป็นผลไม้ หรือทำเป็นน้ำผลไม้ อย่าง น้ำมังคุด และน้ำเปลือกมังคุด
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่างๆได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยัยยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด ทีเอช 1 และ ทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
ไฟเบอร์จากมุงคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
สรรพคุณมังคุด ในทางสมุนไพรจะช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่างๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่างๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
มังคุดสรรพคุณ ทางยาสมุนไพรใช้เพื่อรักอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ท๊อฟฟี่มังคุด
มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง
ประโยช์ของเงาะ
เงาะ
เงาะ ภาษาอังกฤษ Rambutan มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum Linn. เป็นผลไม้เมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และแพร่ขยายมาปลูกมาในบ้านเราในภายหลัง ซึ่งนิยมปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์อื่นๆก็มีปลูกกันบ้างประปราย
ประโยชน์ของเงาะ
มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
เงาะ สรรพคุณช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปาก
ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนได้อย่างได้ผลเงาะ
สรรพคุณของเงาะ ช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง
ใช้เป็นยาแก้อักเสบ
ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ประโยชน์ของเงาะ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างได้มากมาย เช่น การทำเงาะกระป๋อง เงาะกวนเปลือก เป็นต้น
เงาะมีสารแทนนิน ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสีผ้า บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย และกาว เป็นต้น
สารแทนนิน (tannin)ช่วยป้องกันแมลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ทำเป็นยารักษาโรค
คุณค่าทางโภชนาการของเงาะกระป๋องน้ำเชื่อมต่อ 100 กรัม
ประโยชน์ของเงาะพลังงาน 82 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
เส้นใย 0.21 กรัม
ไขมัน 0.65 กรัม
โปรตีน 2.5 กรัม
วิตามินบี1 0.013 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี2 0.022 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี3 1.352 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม 2%
วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม 16%
ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม 1%
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของเงาะ เงาะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้ท้องอืดหรือท้องผูกได้ (ระวังอ้วนด้วยละ) เพราะฉะนั้นควรรับประทานอย่างพอประมาณเพื่อที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
เมล็ดเงาะ มีพิษห้ามรับประทานเพราะอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะนำไปคั่วจนสึกแล้วก็ตามก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี !
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรมวิชาการเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของส้ม
ส้ม
ส้ม (Orange) ผลไม้ยอดฮิตตลอดการจัดเป็นผลไม้ตระกูล Citrus ให้รสชาติเปรี้ยวหวาน ที่ยังอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา เอ…แล้วส้มมีวิตามินอะไรบ้าง? เช่น วิตามินซี วิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) วิตามินบี วิตามินดี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และ คอลลาเจน อีกด้วย และนอกจากนี้ยังมี ใยอาหาร ที่ช่วยในระบบขับถ่ายอีกด้วย สำหรับสรรพคุณของส้มในเรื่องอื่นๆ เช่น ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยล้างสารพิษในร่างกายด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น
สำหรับการกินส้มนั้นสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเด็กหรือใหญ่ก็ตาม แต่ทั้งนี้เด็กต้องอายุมากกว่า 6 เดือนและการให้ดื่มน้ำส้มนั้นควรจะผสมน้ำเปล่าไป ด้วยในปริมาณครึ่งต่อครึ่ง ทั้งนี้เพื่อลดการระคายเคืองสำหรับเด็กเพราะส้มนั้นจะมีรสชาติเข้มข้น และการผสมน้ำก็เป็นอีกวิธีสำคัญที่ทำให้เด็กไม่ติดกินหวานได้ดีอีกด้วย และถัดมาสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตหรือคิดว่ากำลังจะลดความอ้วน ควรกินด้วยความระมัดระวัง เพราะส้มมีน้ำตาลและโพรแทสเซียม สูง แต่ถ้าจะกินควรเลือกกินเพราะว่าส้มมันมีกากใยมากกว่าคิดว่าเป็นน้ำส้มคั้น
ส้มมีวิตามินซีเท่าไร? ผลส้มสด 100 กรัม จะมีเบต้าแคโรทีน 82 ไมโครกรัม และวิตามินซี 50 มิลลิกรัม โดยส้ม 1 ผลส้มโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 140 กรัม ก็เท่ากับว่าส้ม 1 ลูกมีวิตามินซี 70 mg. และมีเบต้าแคโรทีน 115 mcg. นั่นเอง “โดยการกินส้มวันละผลถือเป็นสิ่งที่ดี และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย”
สำหรับสายพันธุ์ส้มนั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป โดยการเลือกซื้อส้มให้มีรสชาติหวานอร่อยควรเลือดส้มที่ผิว เรียบเนียน เปลือกบางเพราะจะให้น้ำเยอะ สำหรับส้มนิยมปลูกมากในบ้านเรานี้ก็ได้แก่ ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน ส้มจุก ส้มตรา(ส้มเช้ง) และส้มโอ ส่วนชนิดของ ส้มนั้น ก็ได้แก่
- ส้มเขียวหวาน มีเนื้อหวาน เหมาะกับการคั้นกินสดๆ มีเปลือกบางและคั้นดื่มง่าย
- ส้มเกลี้ยง ถิ่นกำเนิดจากจีน เป็นหนึ่งในตระกูลส้มที่นิยมปลูกกันมากในไทย เหมาะแก่การใช้ทำบุญหรืองานเทศกาลต่างๆ
- ส้มเช้ง หรือ ส้มตรา ส้มพื้นเมืองของชาวจีนและจัดว่าเป็นผลไม้มงคลในการประกอบพิธีต่างๆ ใช้กินสดๆหรือทำเป็นน้ำผลไม้
- ส้มแก้ว ปลูกมากในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นส้มที่มีขนาดใหญ่รองจากส้มโอ นิยมใช้ทำน้ำส้มคั้น และเป็นผลไม้เซ่นไหว้ในช่วงเทศกาลต่างๆ
- ส้มจุก มีรสขาติหวานอ่อนๆ เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
- ส้มจีน ผลไม้มงคลสำหรับคนจีนสีเหมือนทอง นิยมนำมาไหว้เจ้าหรือบรรพบุรุษ
- ส้มจี๊ด ไม่นิยมนำมากินเพราะมีรสเปรี้ยวมาก แต่คนจีนนิยมนำมาอบแห้ง
- ส้มโอ สามารถนำทำอาหารได้หลายชนิด ทั้งคาวและหวาน
- ส้มซันคิสต์ รสชาติเข้มข้น เปลือกมีกลิ่นหอม นิยมใช้เปลือกมาทำขนมเช่น แยม คุกกี้
- เลมอน มีรสเปรี้ยวหวานนิดๆ เป็นที่นิยมของต่างประเทศ
- มะนาว ก็จัดอยู่ในตระกูลส้มเหมือนกันและจัดว่ามีรสเปรี้ยวมากที่สุด
- มะกรูด นิยมนำกลิ่นหอมจากเปลือกมาใช้ในการปรุงอาหาร แต่น้ำมะกรูดก็นำมาใช้ทำยาสระผมได้เหมือนกัน
สรรพคุณของส้ม
- ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
- ส้ม มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระมากมาย จึงช่วยในการชะลอวัย
- ส้มมีคุณสมบัติในการช่วยสร้างคอลลาเจน ทำให้ช่วยลดเลือนหรือชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้
- ส้ม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
- ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีไม่แห้งกร้าน
- ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก เพราะส้มมีวิตามินซี
- ช่วยเสริมสร้างกระดูดให้แข็งแรง ด้วยแคลเซียม และวิตามินดีจากส้ม
- การกินส้มก็ช่วยลดสภาวะความเครียดได้เหมือนกันนะ
- ส้มช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยในการขับถ่าย เพราะส้มมีกากใยสูง
- ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่ปาก กล่องเสียง และที่กระเพาะ
- ช่วยป้องกันการเป็นอัมพาตหากกินผลไม้ตระกูลส้มเป็นประจำ
- สารฟลาโวนอยด์ในส้ม จะช่วยป้องกันการอักเสบและเลือดจับตัวกันเป็นก้อน
- ในส้มมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยชะลอความเสื่อมเส้นผม เล็บ และผิวของคุณ และช่วยให้ผนังหลอดเลือดเส้นเลือดฝอยแข็งแรง
- ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายของเรา
- ช่วยในการสมานแผลต่างๆ เช่น แผลไฟไหม้ หรือแผลหลังผ่าตัดให้หายดียิ่งขึ้น
- เปลือกส้มจะมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ และเป็นยาระบายอ่อนๆ
- เปลือกส้ม มีสารช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยกรองสารพิษในตับได้ด้วย
- การเสิร์ฟเปลือกส้มคู่กับอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ จะช่วยในการย่อยอาหารที่มีไขมันสูงได้
- เปลือกส้มมีฤทธิ์ในการช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้
- เปลือกส้มที่แห้งแล้วเมื่อนำไปจุดไฟจะมีกลิ่นหอมและมีคุณสมบัติในการไล่ยุง
- ประโยชน์ของส้มจากน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มก็ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและช่วยกระตุ้นระบบประสาทได้ดี
วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของแตงโม
แตงโม
แตงโม ภาษาอังกฤษ : Watermelon ส่วน แตงโมชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai สำหรับชื่ออื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเรียกว่า “บักโม” ส่วนภาคเหนือจะเรียกว่า “บะเต้า” แต่ถ้าเป็นคนจังหวัดตรังแล้วจะเรียกกันว่า “แตงจีน” เป็นต้น แตงโมนั้นมีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู
โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ นั่นก็คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด (ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วที่เรียกกันว่า “เม็ดก๋วยจี๋” นั่นแหละ)
แตงโม จัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับ แคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์แตง (Family CUCURBITACEAE) เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็น รับประทานแล้วหวานชื่นใจ สำหรับประโยชน์ของแตงโมนั่นก็เช่น ช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง รักษาแผลในปาก เป็นต้น และยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วยเพราะอุดุมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่นวิตามินเอ ซี วิตามินบีรวมแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีกระเพาะ ม้าไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานแตงโม
แตงโม มีสารอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาวๆติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสดๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรี่ต่ำมาก อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทานควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงศัตรูพืชต่างๆ ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าในเนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารออกฤทธิ์ที่ทำงานคล้ายกับไวอากร้า หากบริโภคเข้าไปมากๆ สาร Citrulline ในแตงโมจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกายทำให้เกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้หลอดเลือดคลายตัวและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้นคล้ายๆกับฤทธิ์ของไวอากร้า
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าแม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่การที่รับประทานแตงโมเข้าไปมากๆก็คงช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ เพราะน่าจะมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่ายารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และผลเสียที่จะตามมาก็คือ หากรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในผลแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น
ประโยชน์ของแตงโม
- เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรี่ต่ำ
- ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
- แตงโมมี “ไลโคปีน” (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิามินและแร่ธาตุหลายชนิด
- แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
- แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากร้า ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัวช่วยให้ระบบหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
- มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
- มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
- ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
- เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
- เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
- นำไปทำเป็นไวน์ได้
- นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
- แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่ายๆ เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบางๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)